....สวัสดีค่ะยินดีต้อนรับชาว Weblog นี่เป็นแนวข้อสอบวิชาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาค่ะ....


วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สวัสดีค่ะ “ช่วงนี้เป็นช่วงสอบปลายภาค”
เครียดหน่อยนะค่ะ “เหนื่อยหนักก็พักบ้านนะค่ะ"
เรามาทำข้อสอบวิชาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปพร้อม ๆ กันนะค่ะ
ข้อสอบประกอบด้วย 3 ส่วนค่ะ
ผู้ออกข้อสอบ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิวรรธน์ จันทร์เทพ ค่ะ


คะแนนที่ได้แต่ละตอน มีดังนี้ค่ะ
.....ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 50 คะแนน
.....ตอนที่ 2 เขียนโมเดลระบบการทำงานของหน่วยงานที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่ค่ะ 20 คะแนน
.....ตอนที่ 3 ผลงานการทำ Weblog ค่ะ 50 คะแนน
เรามาดูแต่ละตอนกันนะค่ะว่ามีข้อคำถามอะไรกันบ้างค่ะ


ตอนที่ 1
.....ข้อที่ 1 เทคโนโลยี คืออะไร
.....ข้อที่ 2 การศึกษากับการเรียนรู้ต่างกันอย่างไร
.....ข้อที่ 3 เทคโนโลยีการศึกษาจะช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร
.....ข้อที่ 4 สื่อการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาอย่างไร
.....ข้อที่ 5 ความหมายของระบบ คืออะไร


ตอนที่ 2
.....จงวิเคราะห์ระบบบริหารในหน่วยงานของท่านเป็นผังกราฟฟิกอย่างใดอย่างหนึ่งให้ครอบคลุมและเข้าใจง่าย http://boonin6.blogspot.com/


ตอนที่ 3
.....การตรวจสอบและทำการประเมินการทำ Weblog ระหว่างเรียนของนักศึกษาค่ะ
วิธีการให้คะแนน
.....1. เนื้อหาบทเรียนครบถ้วนหรือไม่ (โดยดูจากแผนการสอนค่ะ)
.....2. ภาพประกอบ เช่น ภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
.....3. การตกแต่งวัสดุใน Weblog เช่น เลขนับจำนวน นาฬิกา ภาพการ์ตูน
.....4. การตกแต่งตัวอักษร (การใช้สีว่าเหมาะสมหรือสอดคล้องกันหรือไม่)
.....5. การเชื่อมโยงกับ Weblog ของเพื่อน ๆ และผู้อื่น

คำถามพร้อมคำเฉลย

ข้อที่ 1. เทคโนโลยี คือ อะไรคำเฉลย / คำตอบ (ของนู๋เจี๊ยบค่ะ)
..........ตอบ เทคโนโลยีที่นำเอาวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีระบบ โดยเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การทำความเข้าใจกับความหมายของคำต่าง พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีการศึกษา กับการจัดระบบเทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษารวมทั้งลักษณะของนวัตกรรมการศึกษาเป็นพื้นฐานของหลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา
…...โดยแฮลเซย์ (Halsey 1974 : 935) ให้ความหมายเทคโนโลยี ไว้ดังนี้
…..1. เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อให้เกิดผลเมื่อได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
.....2. เป็นผลจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดระเบียบวิธี กระบวนการและสิ่งประดิษฐ์
.....3. เกิดวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้บริการตามความต้องการของสังคม
.....ไฮนิค และคณะ (Heimlich , Robert and Others 1989 : 443 – 444) ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ 3 ลักษณะ ดังนี้
..........1. ลักษณะที่เป็นกระบวนการ (process) ซึ่งเป็นการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบหรือเป็นการรวบรวมความรู้อย่างมีระบบเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ (คือเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ)
..........2. ลักษณะที่เป็นผลผลิต (product) ซึ่งหมายถึง วัสดุอุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ รวมถึงตัวผู้เรียน ที่เป็นผลผลิตจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
...... ...3. ลักษะที่ผสมของกระบวนการและผลผลิต ได้แก่
..............3.1 ลักษณะผสมผสานกันระหว่างกระบวนการกับผลผลิต เช่น เทคโนโลยีในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งต้องใช้ทั้งกระบวนการและเครื่องมือซึ่งเป็นผลผลิต
.....โดยคำว่า “เทคโนโลยี” (Technology หมายถึง การกระทำอย่างมีระบบ Systematic treatment) เป็นคำที่มาจากรีกว่า Techne หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือทักษะ (art . science , or skil) และจากภาษาลาตินว่า Texere มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ(to weave or to construct) ซึ่ง to weave แปลว่า การสาน เรียบเรียง ถักทอ ประกอบ ปะติปะต่อ ส่วน construct แปลว่า สร้าง ผูกเรื่อง ความนึกคิดที่เกิดขึ้น จากพจนานุกรมฉบับบัณฑิตได้ให้ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยี” หมายถุง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
.....สรุปคำว่า “เทคโนโลยี” คือ เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความสำคัญต่าง ๆ รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปปฏิบัติ โดยสามารถจำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ เทคโนโลยีของกระบวนการ เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต และเทคโนโลยีในลักษณะผสมผสานของกระบวนการและผลผลิต

ข้อที่ 2 การศึกษากับการเรียนรู้ต่างกันอย่างไร
……....ตอบ การศึกษาเป็นรากฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการสร้างสรรค์ความก้าวหน้าและแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคม เนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองด้านต่าง ๆ ตลอดจนช่วยวางฐานพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด โดยการศึกษาเป็นรูปกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความก้าวหน้าความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม โดยการศึกษามี 2 ระดับ คือ
..........1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาในระดับโรงเรียน ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ระดับอนุบาล ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมตอนต้น และมัธยมตอนปลาย
.........2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการศึกษาในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา
.....การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใด ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่าง ๆ ขึ้น ยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
.....การเรียนรู้กับการศึกษาไม่แตกต่างกันเพราะการศึกษาเป็นการค้นคว้า หาข้อมูล และนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนถูกต้อง สิ่งไหนไม่ถูกต้องเพราะการศึกษาค้นคว้าทำให้เราทราบข้อมูลและจดจำเพื่อนำไปปฏิบัติต่อผู้ปฎิบัติก็จะเกิดผล

ข้อที่ 3 เทคโนโลยีการศึกษาจะช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างไร
..........ตอบ เทคโนโลยีเป็นส่วนส่งเสริมหรือตัวการพิเศษในระบบการดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยเราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตเราได้ เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่มาจากหลายๆ แหล่ง โดยนำมาใช้ในงานในสาขาต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในระยะยาวไม่ว่าจะเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ การแข่งขันระหว่างประเทศ การส่งออก รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้มากมาย อาทิเช่น ทางการแพทย์มีการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย วิธีการรักษาโรคแบบใหม่ ๆ ตลอดจนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการตรวจร่างกาย หรือแม้กระทั่งในวงการทหารสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในการทำงาน
.........บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตประจำวันของคนเราในปัจจุบันคือ การสร้างความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและได้ข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีสารสนเทศที่เห็นได้ชัดเจนในชีวิตประจำวันของเราคือโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถประมวลผลสารสนเทศที่ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น ส่งผลถึงการลดระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานสารสนเทศ ช่วยลดต้นทุน ลดเวลาที่ใช้ในการประมวลผลและการสื่อสารทำให้ผู้รับสารสนเทศปลายทางได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ช่วยสนับสนุนข้อมูลหลากหลายด้านเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเพิ่มคุณภาพชีวิตในการทำงาน และกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศที่ทำให้เกิดความสนุกที่จะได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และมีการเชื่อมโยงระหว่างแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดโครงข่ายการบริการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
.........รูปแบบในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็นการจัดการศึกษาภายในระบบ เป็นการศึกษาตามปกติ ที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาทั่วๆ ไป ดังนั้นการจัดการศึกษาแบบนี้ มีการใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสม ตามสภาพของสถานศึกษา หรือตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารว่า จะให้ความสำคัญกับระบบสารสนเทศ เทคโนโลยี มากน้อยแค่ไหน
.........ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาภายในระบบจึงค่อนข้างที่หลากหลาย แล้วสภาพพื้นที่ ความพร้อม และปัจจัยทางด้านทรัพยากรอื่นๆ - การจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาไม่อยู่ในระบบการศึกษาปกติ เช่น การจัดการศึกษาของการศึกษานอกโรงเรียน การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเปิดต่างๆ ที่นักศึกษามีอิสระในการเรียนรู้ ภายใต้มาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยี การใช้ระบบสารสนเทศ จึงมีความจำเป็นมากว่าการศึกษาภายในระบบ แต่มีข้อแม้ในเรื่องต่างๆ คือ ความรับผิดชอบ และความสนใจของผู้เรียนจะต้องมากกว่าระบบปกติทั่วๆ ไป บางครั้งเทคโนโลยี สารสนเทศ มีความทันสมัยมาก แต่นักศึกษาไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญ หรือแม้แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากไม่มีความรู้ การจัดการศึกษานอกระบบจึงมีความจำเป็น และมีความสำคัญมากๆ สำหรับนักศึกษาที่มีความรับผิดชอบ และมีความสนใจเท่านั้น - การจัดการการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาหาความรู้ตามความสนใจในรูปแบบต่างๆ เช่น การศึกษาหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ การศึกษาตามอาชีพที่มีความสนใจ ฯลฯ ซึ่งการศึกษาแบบนี้ สามารถเข้าถึงได้จากบุคคล ทั้งที่จากองค์กรของรัฐ หรือจากหน่วยงานเอกชน ที่มีความพร้อมและให้ความรู้ได้ ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียน และเลือกที่ประกอบอาชีพตามความต้องการของตนเองได้ จึงเป็นอิสระจากการเรียนรู้ภายในระบบ การจัดการศึกษาแบบนี้ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ก็นับว่ามีความจำเป็นและสำคัญ สำหรับการค้นหาข้อมูลเบื้องต้น เพื่อที่จะเรียนรู้และศึกษาต่อไป การศึกษา กับการใช้เทคโนโลยีเป็นของคู่กัน ถ้าหากว่าผู้ใช้มีจิตสำนึกที่ดี ก็สามารถใช้ในทางที่สร้างสรรค์ ได้ แต่ถ้าหากว่าใช้ในการทำลายซึ่งกันและกัน ก็มีแต่ความเสียหาย ดังนั้นผู้ใช้จึงควรมีการแยะแยก ให้เทคโนโลยีสามารถใช้กับการศึกษาให้เกิดประโยชน์ที่สุด แล้วความสำเร็จก็เป็นของผู้เรียน
.........เทคโนโลยีการศึกษามีบทบาทและความหมายกว้างขวาง ดังที่องค์กรหรือนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวและได้แบ่งทัศนะเทคโนโลยี 2 ทัศนะ ดังนี้
...............1. ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) มุ่งเน้นที่วัสดุอุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ เราก็ยังถือว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นเป็น เทคโนโลยีทางเครื่องมือ
...............2. ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ม่งเน้นพฤติกรรมมนุษย์เป็นสำคัญจัดการศึกษา หรือการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า "เทคโนโลยีเชิงระบบ" ดังรูป
ข้อที่ 4 สื่อการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาอย่างไร
……....ตอบ การสื่อสาร หรือ การสื่อความหาย (Communication) เป็นภาษาลาตินว่า “communius” หมายถึง “พร้อมกัน” หรือ “ร่วมกัน” (common) ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน การสื่อสารยังเป็นที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ
.....ลักษณะของการสื่อสารมี 3 ลักษณะ คือ
.........1. วิธีการของการสื่อสาร เป็นการสื่อสารด้วยวาจา เช่น การพูด การร้องเพลงและการสื่อสารที่ไม่ใช่ท่าทาง คือ การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือ และตัวหนังสือ
........2. การสื่อสารเรียนรู้แบบต่าง ๆ เช่น การสื่อสารทางเดียว คือ เป็นการสื่อสารหรือสื่อความหมายไปยังผู้รบเพียงฝ่ายเดียว ส่วนการสื่อสารสองทางเป็นการสื่อสารหรือสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที่
.....สื่อการสอนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา คือ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่สามารถจดจำข้อมูลได้ดีโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต
.....สื่อการสอน เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นทำให้มีการรับรู้และการเรียนรู้ได้อย่างประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้นแต่เสียเวลาน้อย
.....คำว่า “สื่อ” มาจากภาษาลาตินว่า “medium” แปลว่า “ระหว่าง” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “media” หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงหรือถ่ายทอดเนื้อหาสาระจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
.....ดังกล่าวสรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่ครูผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือตัวเชื่อมในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน
.....คุณค่าต่อการเรียนการสอน
... สื่อการสอนแต่ละชนิดที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน ดังนี้
..........1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
..........2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจมากข้น
..........3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขว้างขึ้น
..........4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
..........5. แสดงความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้
..........6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้
..........7. แสดงส่งที่ลี้ลับให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
..........8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
.....สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ ได้ เช่น
..........- ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
..........- ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้
..........- ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้เล็กลงได้
..........- ขยายส่งที่ใหญ่เกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้
..........- นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาดูได้
..........- นำส่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้
.....คุณสมบัติการเรียนการสอน
.....สื่อการสอนแต่ละชนิดจำแนกได้ 3 ประการคือ
.......1. วัสดุ ( materials)
.......2. อุปกรณ์ (equipment
.......3. กิจกรรมหรือวิธีการ (activities or method)
.....วัสดุ (Materials)
.....เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Soft Ware) มีคุณค่าต่อการเรียนรู้มาก เนื่องจากสื่อประเภทนี้สามารถอุ้มความรู้ไว้ได้
บางชนิดสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเอง แต่บางชนิดต้องอาศัยเครื่องมือเป็นตัวผ่านขยายจึงจะสามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ชัดเจน
..........คุณสมบัติของสื่อประเภทนี้มีทั้งวัสดุชนิดถาวรและชนิดสิ้นเปลือง เช่น
................- แผนภูมิ (charts)
................- แผนภาพ (diagrams)
................- ภาพถ่าย (photographs)
................- โปสเตอร์ (posters)
................- ภาพเขียน (drawing)
................- ภาพโปร่งใส (transparencies)
................- ฟิล์มสตริป (filmstrips)
................- เทปวีดิทัศน์ (video tapes)
................- เทปเสียง (tapes) ฯลฯ อุปกรณ์ (Equipment)
......อุปกรณ์ (Equipment)
.........เป็นสื่อใหญ่หรือสื่อหนัก บางที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (hard ware) โดยทั่วไปมักประกอบด้วยเครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อีเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นตัวผ่านขยายสื่อวัสดุเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ชัดเจนขึ้น
................- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projectors)
................- เครื่องฉายสไลด์ (slides projectors)
................- เครื่องฉายภาพยนตร์ (motion picture projectors)
................- เครื่องเทปบันทึกเสียง (tape recorders)
................- เครื่องรับวิทยุ (radio receivers)
................- เครื่องรับโทรทัศน์ (televisions receivers) เครื่องคอมพิวเตอร์(computers) ฯลฯ

ข้อที่ 5 ความหมายของระบบ คืออะไร
……....ตอบ ระบบ คือ ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน อาจเกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น โดยการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาจัดดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ หรืออีกความหมายหนึ่ง “ระบบ” คือ ผลรวมขององค์ประกอบย่อย ๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นตัวตนเองและมาประกอบรวมกันเป็นระบบเพื่อทำหน้าที่บางอย่าง
.....องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ”ข้อมูล” เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น “กะบวนการ” เพื่อให้ได้ “ผลลัพธ์” ดังรูปภาพประกอบ
ขอยกตัวอย่าง : ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย
.....ข้อมูล : ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกต่อในระดับอุดมศึกษา โดยกรตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเรียนจบออกมาเป็น “บัณฑิต”
.....กระบวนการ : การลงทะเบียนเรียน การเรียนให้ครบวิชาและหน่วยกิตที่ได้กำหนดไว้ การสอบผ่านได้คะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์มาตรฐาน
.....ผลลัพธ์ : นักศึกษาสำเร็จตามกฎข้อบังคับและเงื่อนไขต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยออกมาเป็น “บัณฑิต”
.....ข้อมูลย้อนกลับ : เมื่อบัณฑิตจบออกมาแล้วยังหางานทำไม่ได้หรือ ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร นับเป็นข้อมูลป้อนกลับให้นำมาวิเคราะห์ถึงทุกขั้นตอนในระดับนั้น ๆ เช่น การสอบคัดเลือกได้มาตรฐานหรือไม่ เนื้อหาวิชาที่เรียนเหมาะสมกับสภาพการทำงานในแต่ละแขนงหรือไม่